มะขวิด เป็นผลไม้โบราณ มีถิ่นกำเนิดแถวประเทศอินเดีย ศรีลังกาและอินโดจีน ปัจจุบันหาได้ยาก หารับประทานได้ในช่วงฤดูหนาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Feronia limonia (L.) Swingle
ชื่อพ้อง : Feronia elephantum Corr.
วงศ์ : Rutaceae
ภาษาอังกฤษ : Limonia / Curd Fruit / Elephant Apple / Gelingga, Kavath / Monkey Fruit / Wood Apple
ชื่อท้องถิ่น : มะขวิด (ภาคกลาง และทั่วไป), มะฝิด (ภาคเหนือ)

ลักษณะของต้นมะขวิด : เป็นไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบแต่ผลิใบไว สูง 15 – 25 ม.เปลือกนอกสีเทา เปลือกในสีขาว เรือนยอดเป็นพุ่มกลม รูปทรงต้นสวยงาม ใบ เป็นช่อแบบข้อต่อเรียงสลับหรือติดเป็นกระจุกบริเวณปุ่มตามกิ่ง ช่อใบ ยาว 8 – 15 ซม. แต่ละช่อ มี 1 – 4 ปล้อง เนื้อใบค่อนข้างหนา เกลี้ยงหลังใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนท้องใบสีจางกว่า ถ้าเอาใบส่องผ่านแสงจะเห็นต่อมน้ำมันทั่วไป รูปรี ๆ ใส ๆ มากมาย ขอบใบเรียบก้านใบย่อยสั้นมาก ส่วนก้านช่อใบ ยาว 3 – 4 ซม. ดอก เล็กสีขาวอมแดงคล้ำ ๆ ออกรวมกันเป็นช่อสั้น ๆในแต่ละช่อมีทั้งดอกเพศผู้และดอกรวมเพศ ผล แบบผลแห้ง เมล็ดจำนวนมาก รูปผลกลมโต เปลือกนอก แข็งเป็นกะลา สีเทาอมขาว ขนาดผลเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 – 10 ซม.

ผลมะขวิดที่ไม่สุก นำมาฝานเป็นชิ้นตากแห้งนำมาชงน้ำดื่มแก้โรคลักปิดลักเปิด ( antiscorbutic ) เนื่องจากมีสารพวกวิตามินซี และมีสารรสฝาดแทนนิน ( Tannin ) ช่วยแก้โรคท้องเสียและโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ใช้แทนผลมะตูมได้ ภายในผลมะขวิดมีสารเมือกเพคติน (pectin) ประมาณ ๕% ช่วยหล่อลื่นกระเพาะลำไส้ ท้องไม่ผูก

ราก แก้ลงท้อง แก้ฝีเปื่อยพัง แก้บวม แก้ตัวพยาธิ แก้ตกโลหิต
เปลือก แก้ลงท้อง แก้ฝีเปื่อย แก้บวม แก้ตัวพยาธิ แก้ตกโลหิต
ใบ แก้ฟกบวม แก้พยาธิ แก้ฝีเปื่อยพัง แก้ท้องร่วง แก้ตกโลหิต (ห้ามโลหิตระดูสตรี) ขับลม ฝาดสมาน
ดอก แก้ลงท้อง แก้ฝีเปื่อยพัง แก้บวม แก้ตัวพยาธิ แก้ตกโลหิต
ผล แก้ฝีเปื่อยพัง แก้บวม แก้ตัวพยาธิ แก้ตกโลหิต เป็นยาบำรุงทำให้สดชื่น เจริญอาหาร บำบัดโรคท้องเสีย รักษาโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร รักษาโรคลักปิด-ลักเปิด•ยาง เจริญไฟธาตุ แก้ท้องเสีย สมานบาดแผล
ส่วนที่ใช้ : ใบ ยางจากลำต้น ผล
ข้อมูลจาก : ความรู้เรื่องอาหารและสุขภาพ
#ACuisine #เอควิซีน #Cherrykitcook #เครื่องปรุง
อยากกิน อยากฟิน อยากทำ อย่าลืมติดตาม A Cuisine (เอควิซีน)
Website : https://acuisineth.com/
Messenger : http://m.me/AcuisineTH