แยกให้ออก ความแตกต่าง ระหว่าง แตงกวากับแตงไทยอ่อน ถึงแม้หน้าตาจะละม้ายคล้ายกัน แต่รสชาติและเนื้อสัมผัสนั้น….แตกต่างกันนะจ๊ะ
แตงกวากับแตงไทยอ่อน ในตลาดจะมีแตงเหล่านี้ให้เลือกซื้อมากมาย…สำหรับใครที่ยังดูไม่ออก จะมาบอกวิธีสังเกตง่ายๆ กันจ้า ตามมาเลย…

สังเกตจากลักษณะภายนอก ด้วยตาเปล่า
แตงกวา ลูกเรียวยาวทรงกระบอก จะมีสีเขียวเข้มไล่ไปจนถึงเขียวอ่อน จะไม่มีลายตัดชัดเจน ผิวเรียบมัน (ดังรูปเลยจ้า)
แตงไทยอ่อน ลูกเรียวยาวทรงกระบอกเหมือนแตงกวา แถมขนาดก็ยังพอๆกัน จนแทบแยกไม่ออก แต่ต่างที่ “สี” ที่มีสีเขียวเข้ม และสีเขียวอ่อน ลายตัดสลับกันคล้ายกับลายของแตงโม นั่นเอง…
สังเกตจากการผ่าดูเนื้อด้านใน
แตงกวา จะมีเมล็ดที่ใหญ่กว่า ภายในมีน้ำมากกว่า เนื้อจะกรอบกว่า
แตงไทยอ่อน ภายในเมล็ดจะเล็กกว่า มีน้ำน้อยกว่า และเนื้อจะไม่กรอบเท่าแตงกวา
#เมนูที่มักจะนำไปทำ ทั้งแตงกวาและแตงไทยอ่อน จะนิยมนำไปเป็นผักแนม จิ้มน้ำพริก หรือผักเคียงประกอบเมนูอาหารไทยต่างๆ
ทำความรู้จัก แตงไทยอ่อน (Young Musk Melon)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cucumin melo Linn.
ชื่ออื่นๆของแตงไทยอ่อน : มีชื่อตามภาคต่างๆคือภาคอีสานเรียกว่าแตงกิง, แตงจิง ภาคเหนือเรียกว่ามะแตงสุกหรือแตงลาย ส่วนกะเหรี่ยง เรียกว่า “ดี” คนเขมร เรียกว่า “ซกเซรา”
โดยถิ่นกำเนิดของแตงไทยอ่อน คือ แถบแอฟริกาใต้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : แตงไทยเป็นพืชไม้เถาเลื้อย ใบมีขนปกคลุมตลอดลำต้นเป็นสันร่องตามยาว มีหนวดแตกแขนงไว้เกาะตามลำต้น ใบเดี่ยวขอบใบหยักรูปเหลี่ยมแฉกเว้าเล็กน้อย ดอกเดี่ยวสีเหลืองกลีบบางผิวเปลือกสีเขียวอมดำลายสีอ่อน ผลรูปร่างยาวรีหรือกลม ฤดูกาล แตงไทยให้ผลผลิตดีในช่วง เดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายนแหล่งปลูกแตงไทยปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย
สรรพคุณทางยา :
- ดอกอ่อนนำไปตากแห้ง แล้วบดเป็นผงใส่หลอดพ่นใส่จมูกแก้แผลในจมูก หรือ
- เมื่อตากแห้งแล้ว นำไปต้ม กิน ทำ ให้อาเจียน เพื่อระบายท้อง และ
- แก้ดีซ่าน แตงไทยอ่อนกินใช้ขับปัสสาวะ และ
- รักษาทางเดินปัสสาวะอักเสบ
- ขับเหงื่อขับน้ำนม
- บำรุงธาตุบำรุงหัวใจและสมอง
- เมล็ดของแตงไทยอ่อนแก้ไอและช่วยย่อยอาหาร
#ACuisine #เอควิซีน #Cherrykitcook #เครื่องปรุง
อยากกิน อยากฟิน อยากทำ อย่าลืมติดตาม A Cuisine (เอควิซีน)
Website : https://acuisineth.com/
Messenger : http://m.me/AcuisineTH
ผักอื่นๆที่น่าสนใจ
- ผักชีล้อม ผักพื้นบ้านกลิ่นฉุน รสร้อนแรง มากประโยชน์ หลายคนไม่รู้จัก
- ไข่ผำ พืชลอยน้ำ วัตถุดิบพื้นถิ่น ของเด็ดของดี หากินยาก
- “ผักชายา” ต้นผงชูรสของคนรักสุขภาพ เรื่องน่ารู้ที่คุณไม่ควรพลาด
- กระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณชั้นเลิศ ลดไขมัน ขจัดสารพิษ ต้านอนุมูลอิสระ
- ไหลบัว นอกจากอร่อยแล้ว มีสรรพคุณเป็น ยาฤทธิ์เย็น ที่คุณอาจไม่รู้
- ผักชีลาว ผักสมุนไพร ที่นิยมใช้ทั่วโลก! กับประโยชน์และสรรพคุณ
- ฟักข้าว Gac fruit มี “ไลโคพีน” มากกว่า “มะเขือเทศ”
- ดอกมะลิ สัญลักษณ์ของความรักอันบริสุทธิ์ ผูกพันธ์กับคนไทยมาช้านาน
- มะม่วงหาวมะนาวโห่ สมุนไพรไทย สรรพคุณน่าทึ่ง! รสเปรี้ยวจี๊ด สะใจ
- ผักขี้หูด ผักพื้นบ้าน รสเผ็ดร้อน ฉายา “วาซาบิเมืองไทย”
- ซาโยเต้ ยอดผัก บำรุงหัวใจ แถมช่วย ลดน้ำหนัก ได้อีกด้วย
- ใบบัวบก สมุนไพรคลายร้อน…ที่มีดีมากกว่าแก้ช้ำใน
- เม็ดบัว ยอดยาบำรุงเลือด ราคาแสนถูก สรรพคุณแสนแพง
- กระถิน ผักริมรั้ว ยาอายุวัฒนะชั้นดี ประโยชน์และโทษที่ควรรู้
- ถั่วพู ผักริมรั้วคู่ครัวไทย มีประโยชน์มากกว่าพืชตระกูลถั่วด้วยกัน
- ดอกชมจันทร์ ประโยชน์ที่เป็นมากกว่า…ไม้ประดับ
- ผักแขยง ผักพื้นบ้านมากประโยชน์ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
- มะระจีน Bitter Melon ประโยชน์มากสรรพคุณเพียบ
- ใบตำลึง ตัวผู้-ตัวเมีย รับประทานผิดอาจท้องเสียได้
- ผักแพว สุดยอดผักพื้นบ้าน ช่วยชะลอวัย ต้านมะเร็ง